บทที่ 8
Decision Support System
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision
Support System)
· ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
คือระบบที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบการตัดสินใจที่ซับซ้อน
เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาที่มีลักษณะกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างได้ดีขึ้น
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์กร
· การทำงานของระบบ
DSS
เป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์
โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อให้คำตอบที่ง่าย สะดวก
รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน มีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยน
และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอน ดังนั้น
DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น
· ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ
ประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่น ๆ
ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหาที่มีรูปแบบที่ซับซ้อนแต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
แบ่งออกเป็น 4 ส่วน
· 1.
ระบบการจัดการข้อมูล (Data Management System)
· 2.
ระบบการจัดการตัวแบบ (Model Management System)
· 3.
ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System)
· 4.
ระบบการติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface System)
ปัญญาประดิษฐ์
(Artificial Intelligence : AI)
ปัญญาประดิษฐ์
Artificial
Intelligence หรือ AI หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต
ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเป็นหลัก
แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่น ๆ อย่างจิตวิทยา ปรัชญา ชีววิทยา และการจัดการ
มาผสมผสานเข้ากับศาสตร์ทางด้านคอมพิวเตอร์
ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิด การกระทำ
การให้เหตุผลหรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง
ที่มีแนวคิดในรูปที่เน้นเหตุผลเป็นหลัก
ให้มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์
โดยเฉพาะความสามารถในการคิดและเป็นผู้ช่วยในด้านต่าง ๆ
เพื่อนำไปสู้การสร้างระบบงานประยุกต์ที่มีประโยชน์ต่องานในด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น
ระบบประมวลผล ภาษาธรรมชาติ ระบบหุ่นยนต์ ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
จากนิยามดังกล่าว
ความสามารถที่มนุษย์ต้องการให้ AI ทำแบ่งได้ 4
กลุ่มดังนี้ คือ
· ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์
(Systems that think like humans) เช่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหา
การเรียนรู้
· ระบบที่กระทำเหมือนมนุษย์
(Systems that act like humans) เช่น สื่อสารได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้
มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ เยนรู้
โดยสามารถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ
แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
· ระบบที่คิดอย่างมีเหตุผล
(Systems that think rationally)
การศึกษาวิธีการคำนวณที่สามารถรับรู้ ใช้เหตุผล และกระทำ หรือใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล
เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ
· ระบบที่กระทำอย่างมีเหตุผล
(Systems that act rationally) เป็นตัวแทนปัญญา (Agent) ในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำอย่างมีเหตุผลเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้
หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ เช่น เอเจนต์ในเกมหมากรุก
ที่มีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้
ก็ต้องเลือกเดินหมกที่ทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้ หรือ เอเจนต์ในระบบรถอัตโนมัติ
ที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่สุดต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้
เป็นต้น
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในระบบกลุ่มงาน
(Group
Decision Support System : GDSS)
· การตัดสินใจครั้งสำคัญ
ๆ ในองค์กรมักถูกตัดสินใจโดยกลุ่มบุคคล
ซึ่งการตัดสินใจในแต่ละเรื่องของกลุ่มนั้นค่อนข้างยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง
ผู้บริหารมีหลายคนและมีเวลาว่างไม่ตรงกัน หรืออยู่ห่างไกลกันคนละสาขา
การนัดประชุมแต่ละครั้งเพื่อทำการตัดสินใจมักใช้เวลานานและอาจไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหาวิธีการที่สนับสนุนการตัดสินใจในลักษณะนี้ขึ้น
· ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในระบบกลุ่มงาน
(Group
Decision Support System : GDSS) ประกอบด้วยส่วนประกอบที่เหมือนกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจทั่วไป
ต่างกันที่มีการเพิ่มซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการในระดับกลุ่มงาน
เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในระดับกลุ่มงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
คือจะอนุญาตให้ผู้ใช้หลาย ๆ คนเข้าใช้งานแฟ้มข้อมูล ฐานข้อมูล
และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในขณะเดียวกันได้
และอนุญาตให้สมาชิกกลุ่มสามารถทำงานงานเดียวกันได้ และอยู่ในที่ต่าง ๆ ได้
ระบบสนับสนุนสำหรับผู้บริหารระดับสูง
(Executive
Information System : EIS)
ระบบสนับสนุนสำหรับผู้บริหารระดับสูง
(Executive
Information System : EIS)
เป็นระบบสารสนเทศที่ผู้บริหารระดับสูงนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการบริหาร
การตัดสินใจ การกำหนดวิเคราะห์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
ตลอดจนการวางแผลกลยุทธ์ให้ถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์
นอกจากนี้ยังช่วยอำนวยประโยชน์ในด้านการติดต่อสื่อสาร และมีสัมพันธ์ภาพที่ดีระหว่างผู้บริหารในองค์การ
และมีการตัดสินใจเป็นทีมและไปในแนวทางเดียวกัน ทั้งระหว่างผู้บริหารระดับสูงด้วยกัน
ระหว่างบุคลากรในองค์กร หรือการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์กร
ทำให้การคาดการณ์ในอนาคตทำได้อย่างมีประสิทธ์ภาพมากขึ้น ลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ
และสามารถแข่งขันกับองค์กรอื่นได้ดีขึ้น
คุณลักษณะของ
EIS
1. สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง
โดยใช้ข้อมูลจากแหล่งภายในและภายนอก
2. ให้สารสนเทศที่ถูกต้อง
ทันต่อเหตุการณ์
3. ผู้บริหารระดับสูงสามารถติดตามหรือประเมินผลการดำเนินงานการใช้ทรัพยากร
4. สามารถคาดคะเนปัญหาต่าง
ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และเตรียมพร้อมเพื่อรองรับกับสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที่
5. ผู้บริหารระดับสูงมองเห็นภาพความเป็นไปได้ในธุรกิจได้อย่างชัดเจน
และสามารถพยากรณ์เหตุการณ์ได้อย่างถูกต้องมากขึ้น
6. เกิดความสะดวกและประหยัดเวลาในการติดตามข้อมูลข่าวสาร
เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริหารระดับสูงด้วยกัน หรือระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับพนักงานในองค์กรได้อย่างรวดเร็วตลอดเวลา
7. ให้ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างองค์กรที่ดำเนินธุรกิจเดียวกัน
8. ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงเล็งเห็นโอกาสใหม่
ๆ ที่แตกต่างไปจากคู่แข่งขัน
9. เพิ่มศักยภาพในการบริหารงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น