วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 3 โครงสร้างทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ


โครงสร้างทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
Information Technology Infrastructure

โครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นกรอบงานบูรณาการภายใต้เครือข่ายดิจิตอลทำงานอยู่ โครงสร้างพื้นฐานนี้ประกอบด้วย ศูนย์ข้อมูล, เครื่องคอมพิวเตอร์, เครือข่ายคอมพิวเตอร์, อุปกรณ์จัดการฐานข้อมูลและระบบการกำกับดูแลในเทคโนโลยีสารสนเทศและบนอินเทอร์เน็ต โครงสร้างพื้นฐานเป็นฮาร์ดแวร์ทางกายภาพที่ถูกใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายตัวและผู้ใช้หลายคน โครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วยสื่อการส่งผ่าน, รวมทั้งสายโทรศัพท์, สายเคเบิลทีวี, ดาวเทียมและเสาอากาศ และยังมีเราท์เตอร์หลายตัวที่ใช้ถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเทคโนโลยีการส่งผ่านทั้งหลายที่แตกต่างกันในการใช้งานบางครั้ง โครงสร้างพื้นฐานหมายถึงการเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ และไม่ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆที่เชื่อมต่อกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบางคน โครงสร้างพื้นฐานถูกมองว่าเป็นทุกอย่างที่สนับสนุนการไหลและการประมวลผลของข้อมูลบริษัทโครงสร้างพื้นฐานมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอินเทอร์เน็ต พวกเขามีอิทธิพลว่าที่ไหนบ้างต้องมีการเชื่อมโยง, ที่ไหนบ้างที่ข้อมูลจะต้องถูกทำให้
สามารถเข้าถึงได้ และ จำนวนข้อมูลที่สามารถดำเนินการได้และทำได้รวดเร็วได้อย่างไร

วิวัฒนาการของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
วิวัฒนาการของเทคโนโลยี หมายถึง การพัฒนาวิธีการ สิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อแก้ปัญหาสนองความต้องการ หรือเพิ่มความสามารถในการทำงานของมนุษย์โดยมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตลักษณะทางกายภาพ วัสดุ หน้าที่ใช้สอย การใช้งาน รวมถึงประสิทธิภาพของวิธีการ สิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์นั้นอย่างต่อเนื่อง
เทคโนโลยีสารสนเทศกำลังเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันอย่างมาก และยังมีผลต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน เมื่อราว พ.ศ.2500 เทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่แพร่หลาย จะมีเพียงการใช้โทรศัพท์เพื่อการติดต่อสื่อสารและเริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยประมวลผลข้อมูล ในอนาคตเทคโนโลยีแบบสื่อประสมจะช่วยเสริมและสนับสนุนงานด้านสารสนเทศให้ก้าวหน้าต่อไป การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
การดำเนินชีวิตในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ที่มี่บทบาทเพิ่มขึ้น พ.ศ.2528 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้มีการเรียนคอมพิวเตอร์จากเดิมเป็นวิชาเลือก แต่ในปัจจุบันกำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องเรียน เพื่อให้เยาวชนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการสารสนเทศมากที่สุด คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีวิวัฒนาการการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ดังนี้
ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล(Data Processing Era)
  -ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของงานประจำ
 ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(Management Information System)
-มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วยในการตัดสินใจดำเนินการในด้านต่างๆ
ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ(Information Resource Management)
-การใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเน้นถึงการใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
ยุคที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศหรือยุคไอที(Information Technology Era)
-ความเจริญของเทคโนโลยีมีสูงมาก มีการขยายขอบเขตการประมวลผลข้อมูลไปสู่การสร้างและการผลิตสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

แนวโน้มของเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์
 เครื่องคอมพิวเตอร์มีสมรรถนะสูงขึ้น โดยเฉพาะการทำงานได้เร็วขึ้น มีการคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปี
คอมพิวเตอร์จะราคาเท่าเดิม แต่จะทำงานได้ดีกว่าเดิม 50 เท่าในด้านความเร็วและหน่วยความจำ ตามกฎของมัวร์ (Moore’s Law) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท อินเทล (Intel) กล่าวคือ ชิปจะมีความสามารถในการประมวลผลเพิ่มเป็นเท่าตัว
ในทุก 18 เดือน แต่ปัจจุบันการใช้วัสดุซิลิคอนผลิตชิปถึงจุดตีบตันเริ่มไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้
 เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถแก้ปัญหาได้เอง (self-solving problem) เมื่อมีข้อผิดพลาด โดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์ โดยเป็นฮาร์ดแวร์ที่มีซอฟต์แวร์ฝังตัว (embedded system) เพื่อการทำงานเฉพาะ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ฝังตัวอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ
        การใช้นาโนเทคโนโลยี (nanotechnology) นาโนเทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะมีบทบาทในการผลิตวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่มีสมรรถนะสูงขึ้น เพราะใช้การเรียงตัวเองของอนุภาคขนาดเล็ก คือ อะตอมหรือโมเลกุลในตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างแม่นยำและถูกต้องทำให้สามารถพัฒนาโครงสร้างวัสดุหรือสสารอันมีคุณสมบัติพิเศษรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็กมากแต่มีสมรรถนะสูง
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ในอนาคต
นาโนเทคโนโลยี หรือ เทคโนโลยีในการควบคุมและผลิตสรรพสิ่งด้วยความแม่นยำระดับอะตอมนี้กำลังคืบคลานเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราอย่างรวดเร็ว บทบาทหนึ่งที่จะเห็นได้ชัดในอนาคตก็คือการเข้ามาแก้ปัญหาที่เป็นจุดตีบตันของวงการอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ในนามของ "นาโนอิเล็กทรอนิกส์" รัฐบาลของประเทศอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่าง สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น ล้วนสนับสนุนให้นักวิจัยสาขานี้เร่งรีบทำงานเพื่อเป็นเจ้าของเทคโนโลยีนี้ สำหรับประเทศไทยนั้น หากเราไม่ได้มุ่งหวังที่จะเก็บตกเทคโนโลยีเก่าอย่างไมโครอิเล็กทรอนิกส์แต่เพียงอย่างเดียวแล้ว เราก็คงจะต้องเริ่มทำอะไรก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป และหน่วยงานสนับสนุนการวิจัยของประเทศก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
แนวโน้มของเทคโนโลยีซอฟต์แวร์
ในอนาคตซอฟต์แวร์จะยิ่งเอื้อให้ใช้งานได้ง่าย  ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการเรียนรู้มาก  ขณะเดียวกันมีลักษณะการใช้งานเชิงกราฟิก และการปฏิสัมพันธ์ที่โต้ตอบกันได้ทันทีมากขึ้น มีเครื่องมือช่วยผู้ใช้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคู่มือ คำถามที่ใช้บ่อยและอื่นๆ   ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง ขณะเดียวกันซอฟต์แวร์เหล่านี้ยังพยายามพัฒนาบนมาตรฐาน เช่น ซอฟต์แวร์ในองค์การปัจจุบันออกแบบให้ทำงานกับคอมพิวเตอร์หลากหลายลักษณะ เช่น คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ พีดีเอ เป็นต้น และยังมีมาตรฐานในการนำเสนอและจัดการเนื้อหาได้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเอชทีเอ็มแอลและเอ็กซ์เอ็มแอล  ขณะเดียวกันยังเป็นซอฟต์แวร์แบบบูรณาการ เพื่อเทคโนโลยีที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ที่มีแนวโน้มทีจะมีบทบาทมากขึ้นในปีหน้า เป็นกระแสของการพัฒนาและรูปแบบการใช้งาน ได้แก่ Multi-touch, Concurrent programming, Mashup, Service-oriented business applications (SOBA), Cloud Computing, Portable Personality, Social Network Analysis, Video Telepresense และ Microblogging เทคโนโลยีบางตัวอาจสร้างรูปแบบการใช้งานอินเทอร์เน็ตหรือการใช้ชีวิตประจำ วันของเราเปลี่ยนไป บางตัวอาจทำให้การพัฒนาโปรแกรมและสภาพแวดล้อม มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยน หรือมีการเชื่อมประสานระหว่างกันได้ง่ายขึ้นทำให้เกิดแอปพลิเคชันที่มีความ หลากหลายมากขึ้น

Multi-touch เป็นเทคโนโลยีที่สามารถรับ Input ได้หลายจุดพร้อมๆ กัน ต่างจากเทคโนโลยีแบบ Single-touch เช่น การใช้ Mouse ซึ่งสามารถรับรู้จุดการเลือกในเวลาหนึ่งได้เพียงจุดเดียว ดังนั้น Multi-touch จึงเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างออกไป โดยส่วนใหญ่จะเป็นการรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากรูปแบบการเคลื่อนไหวของนิ้ว มือของผู้ใช้เพื่อเป็นการเลือกใช้เลื่อน หรือขยายวัตถุที่แสดงผลอยู่ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่นำเทคโนโลยี Multi-touch มาใช้แล้ว เช่น เครื่อง iPhone ของบริษัทแอปเปิ้ล ที่สามารถย่อย-ขยายรูปภาพ โดยใช้นิ้วสองนิ้ว เป็นต้นเชื่อมโยงระบบสารสนเทศต่าง ๆ ให้สามารถทำงานร่วมกันและสนับสนุนการทำงานของทั้งองค์การ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรณีศึกษา AMERICA’S CUP: THE TENSION BETWEEN TECHNOLOGY AND HUMAN DECISION MAKERS

AMERICA’S CUP: THE TENSION BETWEEN TECHNOLOGY AND HUMAN DECISION MAKERS On September 25, 2013, Oracle Team USA pulled off one of the gre...