วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 7 Enterprise Applications


บทที่ 7 Enterprise Applications
ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (Enterprise Applications) แบ่งออกเป็น
          1. ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Commerce : E-commerce,EC)
          2. ระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจ (Enterprise Resource Planning System : ERP)
3. ระบบการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management System : CRM)
4. ระบบการบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management System : SCM)
ระบบวางแผนทรัพยากรขององค์การ
          ในองค์กรหนึ่งๆ จะมีหน่วยงานภายในที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่ แผนก/ฝ่ายการเงิน แผนก/ฝ่ายบัญชี แผนก/ฝ่ายบุคคล แผนก/ฝ่ายพัสดุหรือการจัดซื้อจัดจ้าง แผนก/ฝ่ายขาย แผนก/ฝ่ายการผลิต แผนก/ฝ่ายควบคุมสินค้า เป็นต้น
          แต่ละหน่วยงานจะมีกระบวนการทำงานที่ทำให้เกิดข้อมูลต่างๆ มากมาย และข้อมูลจะมีการส่งต่อจากหน่วยงานหนึ่งไปยังหน่วยงานหนึ่ง หรืออาจจบในหน่วยงานนั้นๆ ดังนั้นในองค์กรจะมีข้อมูลมากมายที่แตกต่างกันหรือเหมือนกันโดยเกิดจากหน่วยงานเดียวกันหรือต่างหน่วยงานเสมอ
          เพื่อให้เกิดการบูรณาการของข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดกระบวนการทำงานที่ชัดเจน และ/หรือควบคุมด้วยซอฟต์แวร์ เพื่อให้ไม่เกิดข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ดังนั้นจึงทำให้เกิด ระบบ Enterprise Resource Planning หรือ ERP ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจ การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร เพื่อให้สงค์กรสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดของทรัพยากร (ข้อมูล) ที่มีอยู่
ประโยชน์ของ ERP
1.       เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและการปฏิบัติงานให้กับกระบวนการทำงานของธุรกิจ (business process)
2.       สร้างระบบงานแบะกระบวนการทำงานให้ถูกต้อง รวดเร็วระบบเพียงครั้งเดียว เชื่อมโยงกันได้ครบวงจร
3.       ลดความซ้ำซ้อนของการเก็บข้อมูล เนื่องจากนำข้อมูลเข้าระบบเพียงครั้งเดียว ทำให้ข้อมูลมีความเป็นมาตรฐาน และถูกต้องตรงกันทั่วทั้งองค์กร
4.       มีศูนย์รวมระบบข้อมูลสารสนเทศที่ช่วยการตัดสินใจ
5.       เป็นการนำกระบวนการทำงานที่ดีที่สุด (best – practice) มาใช้ในองค์กร
6.       มีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยน หรือขยายระบบงาน ให้มีการทำงานตรงตามกระบวนการทางธุรกิจที่ต้องการ
7.       มีระบบการควบคุมภายใน และการรักษาความปลอดภัยที่ดี
8.       ทำให้เกิดรายงานและการวิเคราะห์ที่สามารถใช้สำหรับการวางแผน
9.       ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการระยะยาว
ระบบ SAP
          SAP (System Application and Product in Data Processing) คือ โปรแกรมที่ช่วยจัดการสานงานทุกสายงานของธุรกิจให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ สามารถนำไปใช้ประกอบการดำเนินกิจกรรมของธุรกิจได้ และผู้บริการสามารถเรียกดูข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลสถานะของบริษัทได้ โดยทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทรัพยากรขององค์กรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ความสามารถในการทำงานของ SAP
          SAP ได้ออกแบบมาให้รองรับการดำเนินงานของธุรกิจ หรือหน่วยงาน ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลาย ง่ายต่อการใช้งาน อาทิเช่น
          1. การจัดทำเหมืองข้อมูล
          2. การจัดทำคลังข้อมูล
          3. ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management : CRM ) Integration Business Planning แล้วส่งต่อข้อมูลไปในระบบ ERP ซึ่งสามารถดูผลผ่านทางเว็บบราวเซอร์
          4. การทำ Strategic Management, Balance Score Card การติดตามและประเมินผล การดำเนินงานตามตัวชี้วัด (KPI) การวิเคราะห์แนวโน้ม การวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน อดีตและอนาคตขององค์กร
ประโยชน์ของ CRM
1.       สร้างความจงรักภักดี (Loyalty) ของลูกค้าในระยะยาว ซึ่งบริษัทจะต้องถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่าและต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดี
2.       เพิ่มยอดขายในระยะยาว จากการศึกษาพบว่าค่าใช้จ่ายในการหาลูกค้าใหม่นั้นมากกว่า 5 เท่าของการรักษาลูกค้าเก่า ซึ่งลูกค้าเก่ามีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทในอนาคตสูง ดังนั้นต้องรักษาลูกค้าเก่าที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ไว้ให้ได้
3.       สร้างประวัติ ชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีของบริษัท เพราะลูกค้าจะบอกกันปากต่อปากถึงบริการหรือสินค้าที่ดี อย่างไรก็ตามถ้าสร้างความไม่พอใจให้กับลูกค้าก็จะเสียลูกค้าจำนวนมากทั้งลูกค้าปัจจุบันและอนาคต
4.       เพิ่มโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ
5.       มีการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าในระบบอิเล็กทรอนิกส์
6.       เป็นเครื่องมือช่วยเชื่อมต่อกับระบบงานอื่น ๆ เช่น ERP SCM
E – CRM
          ระบบที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เรียกว่าระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ออนไลน์ (Electronic Customer Relationship Management หรือ e – CRM)
e – CRM คือ การบริหารจัดการความสัมพันธ์ของลูกค้าโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางรูปแบบ e – CRM เป็นได้ทั้งการใช้ E – mail กิจกรรมด้าน E – commerce และอีกหลายิวธีการที่สามารถติดต่อเข้าถึงลูกค้าได้บนพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต
คุณสมบัติที่ดีของ e – CRM
·       มีความสามรถในการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ
·       มีความสามรถในการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
·       ประเมินความต้องการของลูกค้าล่วงหน้าได้
·       มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในระบบการทำงาน
·       มีการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในการรับข้อมูลที่ตัวเองสนใจ และทันต่อเหตุการณ์
ระบบการบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management System : SCM)
Supply Chain Management System  (SCM) คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภค โดยที่องค์กรต่าง ๆ  เหล่านี้มีความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องกันตั้งแต่ต้นน้ำ (วัตถุดิบ) จนถึงปลายน้ำ (สินค้าสำเร็จรูปหรือบริการ) ซึ่งมีลักษณะยาวต่อเนื่องกันเหมือนโซ่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพตลอดกระบวนการผลิตจนถึงมือผู้บริโภค โดยการให้ความสำคัญต่อการสื่อสาร การวิเคราะห์ข้อมูล และนำไปใช้ร่วมกัน เพื่อลดต้นทุนการถือครองสินค้าในทุกกิจกรรมให้มากที่สุด เป็นสร้างมูลค้าในการดำเนินงาน และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน รวมไปถึงลูกค้า และผู้จัดส่งวัตถุดิบด้วย ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรมีความสามารถในการบริการ ความเติบโตของธุรกิจ และความยั่งยืนของธุรกิจ  
ประโยชน์ของ SCM
          เป้าหมายหลัก SCM คือ ต้องการทำการลดความไม่แน่นอน (Uncertainty) และความเสี่ยง (Risk) ตลอด Supply Chain ลงให้มากที่สุด กระบวนการของ SCM จะช่วยให้องค์กรยกระดับความสามรรถในการบริหาร ดังนี้     
ü ลดระดับของสินค้าคงคลัง
ü เพิ่มผลิตภาพ
ü ลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน
ü ลดรอบเวลาของการทำธุรกรรม
ü การเพิ่มโอกาสในการออกสินค้าใหม่ให้เร็วขึ้น
ü การเปิดตลาดใหม่ ๆ
ü การสร้างความพอใจแก่ลูกค้ามากขึ้น
ü การลดต้นทุนธุรกิจ
ü มีการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่ดี เป็นต้น
         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรณีศึกษา AMERICA’S CUP: THE TENSION BETWEEN TECHNOLOGY AND HUMAN DECISION MAKERS

AMERICA’S CUP: THE TENSION BETWEEN TECHNOLOGY AND HUMAN DECISION MAKERS On September 25, 2013, Oracle Team USA pulled off one of the gre...